แต่มาสคอตหลายตัว ไม่ได้ “วิ่งไปวิ่งมา” อยู่ตามสนามกีฬาหรือสวนสนุก แบบในอดีตอีกแล้ว มันถูก “ปรับการทำงาน” ให้มากขึ้น เช่น ต้องสร้างคาแรคเตอร์ให้คนจดจำ ยกตัวอย่างเช่น ทำท่าทำทางเกรียนบ้างตามสนามบอล เพื่อเอาใจแฟนๆ ข้างสนาม …หรือเพิ่มสีชุดให้ดูรุนแรง เพื่อสะดุดสายตาคนมอง อื่นๆ ที่เห็นแล้วชอบคือ มาสคอตรู้จักมีแฟน มีคนรัก เอามาเต้นด้วยกันในอีเวนท์
จากเด็กสาวนำโชค สู่มาสคอตแห่งอนาคต
แต่มีมาสคอตล่าสุดตัวหนึ่งที่อาจจะเปลี่ยน “ขนบ” สำหรับพวกมันไปเลยในอนาคตก็คือ Vayar มาสคอตทีมชาติฟุตบอลของ “เบลารุส” (คำว่า Vayar เป็นศัพท์ท้องถิ่น ความหมายคือ Warrior) เจ้า Vayar เป็นหุ่นยนต์โรบอทนักรบ มีดาบ ถืออาวุธ คล้ายๆพวก Transformer
หนังสือที่เอาเรื่องนี้มาลงคือ Four Four Two ของอังกฤษ ที่วางแผงเล่มแรกในปี 1994 และผมยังคงซื้อมาทุกเล่มแบบติดงอมแงม เท่าที่อ่านในเล่มล่าสุด การที่มาสคอตเบลารุสต้องเป็นนักรบ เพื่อ represent ประเทศของเขา สังคมของเขา ซึ่งผ่านสงครามมายาวนาน…
มันจึงเหมาะสมกัน ถ้าทีมชาติแข่งบอลแล้ว ตัวนำโชคจะถือปืนหรือดาบ!
โดยสื่อมองว่า ตัวมันเอง “อาจจะ” ทำให้ทีมฟุตบอล หรือสโมสรกีฬาอาจปรับเปลี่ยนมาใช้บ้าง เพื่อจับคนรุ่นใหม่ที่กำลังสนใจ Robot AI เหมือนที่ตอน Transformer ภาคแรก สร้างเทรนด์ Machinema (ผสมคำ machine + cinema = เทรนด์หนังหุ่นยนต์)
ติดตามอ่านต่อได้ที่ : https://blog.sansiri.com/mascot-marketing/